Knock Around Indonesia : โบราณสถานทั้งสองที่ตั้งบนเส้นตรงแกนเดียวกันกับบุโรพุทโธ!!

Photo by David Marcu from https://unsplash.com/photos/78A265wPiO4
 Edit by Thanapohn Pakdeethana

มาพบกันอีกแล้วค่าา สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวในครั้งนี้ เราก็ยังอยู่ที่อินโดนีเซียค่ะ และโบราณสถานที่จะมาแนะนำก็เป็นจันทิเหมือนเดิมเหมือนบล็อคที่แล้วค่า แต่แตกต่างที่สร้างคนละยุคสมัยกันนะคะ จันทิที่ราบสูงเดียงในบล็อคก่อนหน้านี้นั้นสร้างในสมัยชวาภาคกลางตอนต้น ในขณะที่จันทิปะวนและจันทิเมนดุตสร้างในระยะเดียวกับบุโรพุทโธ ซึ่งเป็นสมัยชวาภาคกลางตอนกลาง  และยังตั้งอยู่ใกล้บุโรพุทโธอีกด้วย นอกจากจะอยู่บริเวณใกล้เคียงกันแล้ว ทั้งสามสถานที่นี้เมื่อดูจากแผนที่แล้วยังพบว่าระยะห่างทั้งสามสถานที่สามารถแสดงเป็นเส้นตรงแกนเดียวกันซึ่งน่าสนใจอย่างมากค่ะ
แผนที่แสดงระยะห่างของจันทิเมนดุต จันทิปะวน และบุโรพุทโธ
ที่มา https://wisatane.com/candi-pawon-magelang/1899/

จันทิปะวนและจันทิเมนดุตสร้างในสมัยราชวงศ์ไศเลนผู้นับถือพุทธศาสนามหายานที่เข้ามามีอำนาจแทนราชวงศ์สัญชัยในพุทธศตวรรษที่ 14 ลักษณะของจันทิสมัยนี้คือยังคงมีการประดับเรือนธาตุจำลองให้ตั้งซ้อนกันบนหลังคาแบบวิมานในศิลปะอินเดียใต้ดังเดิม แต่เปลี่ยนรูปอาคารจำลองมาเป็นสถูปิกะหรือสถูปจำลอง ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสำคัญในสมัยนี้ และเพื่อบ่งบอกว่าจันทิที่สร้าง สร้างเพื่ออุทิศให้กับพระพุทธศาสนานั่นเอง

จันทิปะวน

ภาพจันทิปะวน
ที่มา https://www.google.co.th/url?sa=i&rct=j&q=&esrc=s&source=images&cd=&ved=2ahUKEwjJhdzMtrDdAhUIIIgKHZHjAtAQjRx6BAgBEAU&url=https%3A%2F%2Fwisatane.com%2Fcandi-pawon-magelang%2F1899%2F&psig=AOvVaw0F2qtAwj4a4kTXptB7CoL5&ust=1536552491803430

ภาพจันทิปะวน
ที่มา https://www.expedia.com.hk/Candi-Pawon-Yogyakarta.d553248621562597598.Place-To-Visit

ถือเป็นจันทิขนาดเล็กที่สวยที่สุดในศิลปะชวาภาคกลางตอนกลาง ตั้งอยู่บนฐานประทักษิน ผนังเรือนธาตุแบ่งออกเป็นสามเก็จ* เก็จประธานเป็นภาพสลักต้นกัลปพฤกษ์ ส่วนเก็จมุมจะเป็นภาพสลักพระโพธิสัตว์ ชั้นหลังคาประดับด้วยสถูปจำลองหรือสถูปิกะตามความคิดทางพุทธศาสนาในชวาภาคกลางตอนกลาง ราวบันไดของจันทิประดับด้วยลวดลายต้นกัลปพฤกษ์ สื่อถึงการอวยพรให้ผู้ศรัทธาได้รับความอุดมสมบูรณ์ค่ะ
ภาพเก็จมุมที่สลักพระโพธิสัตว์
ที่มา https://www.expedia.com.hk/Candi-Pawon-Yogyakarta.d553248621562597598.Place-To-Visit
ภาพเก็จมุมที่สลักพระโพธิสัตว์
ที่มา http://www.laurentiadewi.com/2017/05/31/candi-pawon-candi-brajanalan-magelang-jawa-tengah-kecil-cantik-sarat-detail/

จุดเด่นของจันทิปะวนคือ
1.รูปต้นกัลปพฤกษ์และกินนร-กินนรี บนเก็จประธาน แสดงคติเรื่องความอุดมสมบูรณ์ เนื่องจากต้นกัลปพฤกษ์เป็นทรงพุ่ม สังเกตที่โคนต้นมีหม้อเพชรพลอย เชื่อกันว่าต้นไม้ชนิดนี้เป็นต้นไม้สารพัดนึก สามารถประทานทุกสิ่งได้ตามความปรารถนา


บริเวณผนังเรือนธาตุ
ที่มา http://www.laurentiadewi.com/2017/05/31/candi-pawon-candi-brajanalan-magelang-jawa-tengah-kecil-cantik-sarat-detail/

ภาพสลักต้นกัลปพฤกษ์และกินนร-กินรี บนเก็จประธาน
ที่มา http://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/sculptureth/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2/item/420-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%99.html

2.ลวดลายประดับที่นิยมในศิลปะชวา คือการประดับหน้ากาลบนยอดซุ้มและมกรที่ปลายกรอบซุ้ม
ภาพสลักหน้ากาลบนยอดซุ้มและมกรที่ปลายกรอบซุ้ม
ที่มา http://www.laurentiadewi.com/2017/05/31/candi-pawon-candi-brajanalan-magelang-jawa-tengah-kecil-cantik-sarat-detail/


 

แม้จันทิปะวนะมีขนาดเล็กแต่ก็เป็นจันทิที่สวยและงดงามมากๆแห่งหนึ่งค่ะ ต่อไปจะพาไปชมจันทิที่มีขนาดใหญ่ขึ้น อีกทั้งยังอยู่บริเวณใกล้เตียงกันกับจันทิปะวนด้วยค่ะ นั่นก็คือ จันทิเมนดุต!


จันทิเมนดุต
จันทิเมนดุต
ที่มา https://pantip.com/topic/37061078
จันทิเมนดุต
ที่มา http://www.masifan.com/2017/07/tips-that-can-be-done-when-visiting.html
จันทิเมนดุตตั้งอยู่บนฐานประทักษิณขนาดใหญ่ เก็จประธานประดับภาพพระโพธิสัตว์ประทับนั่งอยู่บนดอกบัว ส่วนเก็จมุมประดับพระโพธิสัตว์อันยิ่งใหญ่แปดองค์ในพุทธศาสนามหายาน ซึ่งทำให้จันทิเมนดุตกลายเป็นมณฑลหรือแผนภูมิในพุทธสาสนามหายาน หลังคาประดับด้วยสถูปิกะแบบชวากลาง ซ้อนชั้นตามแบบวิมานอินเดียใต้ มุขทางเข้าประดับรูปท้าวกุเวรและนางหาริตี เทพเจ้าแห่งความร่ำรวยและอุดมสมบูรณ์เพื่อเป็นการอวยพรแก่ผู้มาเคารพสักการะ ภายในจันทิประดิษฐานประติมากรรมสำคัญสามองค์ ได้แก่ พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทางด้านขวาและพระโพธิสัตว์วัชรปาณีทางด้านซ้าย
เก็จประธานของจันทิเมนดุต
ที่มา http://candi.perpusnas.go.id/temples/foto-jawa_tengah-candi_mendut

พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรทางด้านขวาและพระโพธิสัตว์วัชรปาณีทางด้านซ้าย
ที่มา http://asmarainjogja.id/m/candi_mendut_yang_dihuni_arca_budha_terbesar_berita401.html

พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทภายในจันทิเมนดุต แสดงปางธรรมจักรมุทรา มีความคล้ายกับพระพุทธรูปที่ถ้ำอชันตา-เอลโลล่า คือมีลักษณะที่คล้ายกัน เช่น ห่มจีวรเฉียง ชายจีวรมีลักษณะถูกดึงขึ้นมาอยู่ระหว่างพระชงฆ์(แข้ง)ทั้งสองข้าง แสดงให้เห็นว่ามีอิทธิพลศิลปะปาละเข้ามาผสมผสานอยู่ด้วย
พระพุทธรูปนั่งห้อยพระบาทภายในจันทิเมนดุต
ที่มา http://boranbkk.tumblr.com/post/62899267168/lotusunfurled-the-buddha-in-candi-mendut-by
พระพุทธรูปประทับนั่งพระบาทที่ถ้ำเอลโลร่า ประเทศอินเดีย
ที่มา http://www.oceansmile.com/India/Ellora_Caves.htm

พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรและวัชรปาณีภายในจันทิเมนดุต
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร ประดิษฐานอยู่ทางด้านขวาของพระพุทธรูปประธาน เป็นบุคลาธิษฐานของความกรุณา มีอีกชื่อว่าพระปัทมปาณิ เนื่องจากทรงถือดอกบัวปัทมะที่พระหัตถ์ข้างซ้าย(ซึ่งหักหายไปแล้ว)
พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร
ที่มา http://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/sculptureth/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2/item/419-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A7%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%95.html


พระโพธิสัตว์วัชรปาณิ ประดิษฐานอยู่ทางด้านซ้ายของพระพุทธรูปประธาน เป็นบุคลาธิษฐานของความมีพลัง อำนาจ ถือวัชระ(สายฟ้า)ที่พระหัตถ์ข้างขวา(ซึ่งหักหายไปแล้ว)
พระโพธิสัตว์วัชรปาณิ
ที่มา http://mblog.manager.co.th/leknuaon/th-69103/


นอกจากนี้ยังมีภาพสลักที่น่าสนใจคือ ท้าวกุเวรและนางหาริตี ตำนานเรื่องเล่าชื่อดังภายในมุขทางเข้าของจันทิเมนดุต ท้าวกุเวรเป็นเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย เนื่องจากเป็นผู้ที่มีรูปร่างอ้วนท้วมและมีหม้อเงินวางอยู่ด่านล่าง จึงหมายถึงร่ำรวยมากจนเหลือกินเหลือใช้
ท้าวกุเวร เทพเจ้าแห่งความร่ำรวย
ที่มา http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/06/K5546170/K5546170.html

นางหาริตี ชายาท้าวกุเวร เคยเป็นยักษิณีที่กินเด็ก(ในที่นี้ความหมายตรงตัวหมายถึงจับเด็กมากินนะคะ ไม่มีความหมายแฝงแต่อย่างใดค่า) ด้วยคำสอนของพระพุทธเจ้า นางจึงเปลี่ยนใจมาเป็นยักษ์คุ้มครองดูแลเด็กๆ ภาพสลักนี้นางหาริตีอยู่ท่ามกลางเด็กจำนวนมาก บางความเชื่อจึงอธิบายว่าสื่อถึงการอวยพรให้มีลูกมากๆ ด้วยเหตุนี้ นางจึงเกี่ยวข้องกับความอุดมสมบูรณ์เช่นเดียวดับท้าวกุเวรค่ะ ดังนั้นการปรากฏทั้งท้าวกุเวรและนางหาริตีที่ประตูทางเข้า ย่อมสื่อถึงการอวยพรให้แก่ผู้ศรัทธาทั้งสิ้น
นางหาริตี
ที่มา http://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/sculptureth/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2/item/417-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B5.html



เป็นอย่างไรบ้างคะท่านผู้อ่านทุกท่าน สถานที่ที่ได้พามาแนะนำในวันนี้เป็นสถานที่ที่มีความน่าสนใจไม่แพ้ที่อื่นๆเลยค่ะ ในขณะที่ตัวผู้เขียนสรรหาข้อมูลเหล่านี้มาเรียบเรียงแล้ว รู้สึกว่าอยากไปมากๆเลยค่ะ ด้วยความที่เป็นคนที่สนใจโบราณสถานในประเทศอินโดนีเซีย เพราะดูมีความสวยงาน มีความลึกลับซับซ้อนที่น่าค้นหา น่าสนใจพอๆกับโบราณสถานอันโด่งดังของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉัยงใต้ภาคพื้นทวีปอย่างนครวัดและนครธมเลยค่ะ ข้อมูลที่ได้รวบรวมมานี้ผู้เขียนหวังอย่างยิ่งว่าจะสามารถเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้ที่สนใจและผู้ที่ค้นหาข้อมูลทุกท่าน นอกจากนี้ผู้เขียนยังหวังว่าจะสามารถจุดประกายหัวใจที่รักในการท่องเที่ยวของผู้อ่านทุกท่าน(และตัวผู้เขียนเองด้วย) แม้สถานที่ที่ได้แนะนำจะอยู่ใกล้ๆประเทศไทยของเรานั้นก็สวยงาม ให้ความรู้สึกว่าอเมซิ่งมากๆ ไม่แพ้สถานที่ใดๆในโลกเลยค่ะ เจอกันอีกทีในบล็อคต่อไป เราจะพาไปชมบุโรพุทโธ โบราณสถานอันโด่งดังที่อยู่ไม่ใกล้ไม่ไกลกับจันทิปะวนและจันทิเมนดุตค่าาา





*เก็จ คือ ส่วนที่ยื่นออกมาหรือลึกเข้าไปในฝาผนัง กำแพง ฐาน หรือเชิงกลอน
ที่มา https://www.icomosthai.org/m_news/piset2.htm

เอกสารอ้างอิง

เชษฐ์ ติงสัญชลี.(2558). ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส.

เชษฐ์ ติงสัญชลี.(ม.ป.ป).ภาพรวมจันทิเมนดุต.สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 จาก http://art-in-sea.com/th/data/indonesia-art/central-java-art/item/47-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%95.html

เชษฐ์ ติงสัญชลี.(ม.ป.ป).นางหาริตีที่ทางเข้าจันทิเมนดุต.สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 จาก http://art-in-sea.com/th/data/indonesia-art/central-java-art/item/51-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%B8%E0%B8%95.html

เชษฐ์ ติงสัญชลี.(ม.ป.ป).พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรภายในจันทิเมนดุต.สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 จาก http://art-in-sea.com/th/data/indonesia-art/central-java-art/itemlist/category/26-candi-mendut.html?start=6

ศูนย์มานุษยวิทยาสิริทร.(ม.ป.ป).จันทิปะวน.สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 จาก  http://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/architectureth/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2/item/38-%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%99.html

ศูนย์มานุษยวิทยาสิริทร.(ม.ป.ป).ต้นกัลปพฤกษ์ที่จันทิปะวน.สืบค้นเมื่อ 10 กันยายน 2561 จาก http://www.sac.or.th/databases/seaarts/th/sculptureth/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2/item/420-%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B8%9B%E0%B8%9E%E0%B8%A4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B9%8C%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%99.html

Comments

Popular posts from this blog

มกร สัตว์ในตำนานที่หลายคนยังไม่เคยรู้!

Knock Around Indonesia : บุโรพุทโธ ศาสนสถานมหายานที่ใหญ่ที่สุดในโลก

Knock Around Indonesia : เสน่ห์(ไม่)ลับของบาหลี