Knock Around Indonesia : บุโรพุทโธ ศาสนสถานมหายานที่ใหญ่ที่สุดในโลก




Photo by Sebastian Staines

สวัสดีค่ะ นี่ก็ผ่านไปอีก 1 อาทิตย์แล้ว จากที่ตอนที่แล้วพาไปชมจันทิที่อยู่ใกล้เคียงบุโรพุทโธ เมื่อมาคราวนี้เราจะพลาดพุทธศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่อย่างบุโรพุทโธไปได้ยังไงล่ะคะ แน่นอนว่าบุโรพุทโธเป็นหนึ่งในสถานที่ที่หลายคนได้ลิสต์เอาไว้ว่าจะไปใช่ไหมคะ บุโรพุทโธก็เป็นหนึ่งในลิสต์ที่ผู้เขียนเองก็ตั้งใจว่าอยากจะไปค่ะ วันนี้จึงจะมาเล่าถึงความเป็นมาและสิ่งที่นาสนใจที่อยู่ในศาสนสถานแห่งนี้ค่ะ

บุโรพุทโธ(Borobudur) เป็นสถูปทางศาสนาพุทธขนาดใหญ่ของศิลปะชวาค่ะ สร้างเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 14 โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ ที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน สถูปขนาดใหญ่นี้เชื่อว่าสร้างในระยะเดียวกับจันทิเมนดุตและจันทิปะวนที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันดังที่นำมาเสนอในบล็อคครั้งที่แล้วค่ะ นักวิชาการเชื่อว่าสถูปบุโรพุทโธแห่งนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถูปเกสาริยาที่อยู่ในอินเดียเป็นศิลปะอินเดียแบบปาละ บุโรพุทโธสร้างขึ้นจากหินลาวา แน่นอนว่าหินลาวามักจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเมื่อโดนความร้อน อีกทั้งบุโรพุทโธเป็นสถานที่ที่ตั้งกลางแจ้งโล่งๆ ดังนั้นหากไปเที่ยวชมแล้วคงต้องมีเหงื่อแตกแน่ๆค่ะ



บุโรพุทโธ
ที่มา https://lonelyplanetimages.imgix.net/a/g/hi/t/f4024c571e5e09ce5e4049bc181500b1-borobudur-temple.jpg?sharp=10&vib=20&w=1200
บุโรพุทโธ
ที่มา http://www.plasainformasi.com/wp-content/uploads/2016/11/Candi-Borobudur.jpg


บุโรพุทโธมีแผนผังที่ซับซ้อน เชื่อว่าได้รับการออกแบบให้สื่อถึง มณฑล หรือ จักรวาล ตามความเชื่อของพระพุทธศาสนามหายาน ประกอบด้วย 3 ระบบที่จำลองจักรวาลทับซ้อนกันอยู่ ได้แก่
                  1.ระบบพระอาทิพุทธ-พระธยานิพุทธ-พระมานุษิพุทร
                  2.ระบบตรีกาย
                  3.ระบบภูมิสาม

                  1.ระบบพระอาทิพุทธ-พระธยานิพุทธ-พระมานุษิพุทร เชื่อว่าในจักรวาลมีพระพุทธเจ้าจำนวนมากแต่ที่กำเนิดองค์แรกและสร้างโลก คือ พระอาทิพุทธ ต่อมาพระองค์เข้าสมาธิและให้กำเนิด พระธยานิพุทธเจ้า 5 พระองค์ ที่มีหน้าที่ผลัดเปลี่ยนดูแลกัลป์ต่างๆและสร้างพระมานุษิพุทธหรือพระพุทธเจ้าผู้เป็นมนุษย์ให้ลงมาตรัสรู้ ดังนั้นจึงแบ่งพระพุทธเจ้าได้เป็น 3 ระดับ คือ พระอาทิพุทธ-พระธยานิพุทธ-พระมานุษิพุทธ
                  การจำลองระบบพระอาทิพุทธ-พระธยานิพุทธ-พระมานุษิพุทร ของบุโรพุทโธ สื่อผ่านภาพสลัก พระพุทธรูป และสถูปที่เรียงจากฐานด้านล่างขึ้นไปสู่ข้างบนสุด
                  พระมานุษิพุทร มนุษย์ผู้ตรัสรู้ในกามภูมิ จะตรงกับภาพสลักเล่าเรื่องเกี่ยวพุทธประวัติบนฐานประทักษิณชั้นที่ 1

ภาพสลักเล่าเรื่องเกี่ยวพุทธประวัติ
ที่มา https://img.winnews.tv/files/site/74ef6c1eff7f77ba128e4b3a4b0b09c9.jpg


                  พระธยานิพุทธ ตรงกับพระพุทธรูปในซุ้มจระนำที่เรียงรายอยู่ทั้ง 4 ด้าน บนทางประทักษิณชั้นต่างๆ โดยแต่ละด้านจะมีปางที่แตกต่างกันออกไป จุดที่เชื่อมระหว่างพระธยานิพุทรในรูปภูมิและพระอาทิพุทธในอรูปภูมิ จะตรงกับฐานกลม 3 ชั้น ที่มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ในสถูปที่เจาะเป็นช่อง จึงเห็นพระพุทธรูปในสถูปไม่ชัดเจน สื่อถึงความก้ำกึ่งระหว่างการมองเห็นและมองไม่เห็น หมายถึงสภาวะที่อยู่ระหว่างความมีรูปและความไม่รูป
                   พระพุทธรูปภายในสถูป แสดงปางปฐมเทศนา เป็นอิทธิพลมาจากอินเดียเหนือ มาจาก 2 ศิลปะผสมผสานกัน คือมีอุณาโลม(เครื่องหมายระหว่างคิ้วพระพุทธรูป)แบบศิลปะปาละ และการห่มจีวรเฉียงตามแบบศิลปะหลังคุปตะ

พระพุทธรูปในซุ้มจระนำ
ที่มา https://ka-perseus-images.s3.amazonaws.com/00d9bd8fee6e968a4534bcea28ee5d18ed2dd6c0.jpg

สถูปที่ภายในประดิษฐานพระพุทธรูป
ที่มา https://unsplash.com/photos/J5pMvo_75Dw
พระพุทธรูปภายในสถูป แสดงปางปฐมเทศนา
ที่มา http://www.airpano.ru/files/Borobudur-Indonesia/images/image2.jpg


                  พระอาทิพุทธ ตรงกับสถูปที่ตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของบุโรพุทโธ โดยสถูปนี้สร้างเป็นแบบทึบ ุไม่มีพระพุทธรูปที่เป็นรูปมนุษย์ สื่อถึงการไม่มีรูป หรือ อรูปภูมิ

สถูปที่ตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของบุโรพุทโธ
ที่มา https://blogger.googleusercontent.com/img/b/R29vZ2xl/AVvXsEg4x6f2iij22ozAPoEkfsBra-U78XA521QmytsRj0vaK7kfNmNEg7GuerK2HIGr5zG6YIXR-6qzz43IiVs9lhICOJgN3Wx5mue6Z583I88FclPWHgdxL5sF5c293OMvfBLt1Icq4ebZgc-B/s1600/55-stupa+utama-borobudur-adhieswand-2014.jpg
บริเวณสถูปที่ตั้งอยู่บนจุดสูงสุดของบุโรพุทโธ
ที่มา https://chavelli.com/blog/travel-diaries-borobudur-indonesia


                  2.ระบบตรีกาย เชื่อว่าพระพุทธเจ้ามีกายที่แตกต่างกัน พระอาทิพุทธ มีพระกายเป็น ธรรมกาย เป็นกายแห่งพระธรรม เป็นกายอมตะและไม่มีรูป พระธยานิพุทธ มีกายในสถานะ สัมโภคกาย เป็นอมตะ และมีรูปที่มองเห็นได้ ส่วนพระมานุษิพุทธ มีกายแบบ นิรมาณกาย เป็นกายเช่นเดียวกับมนุษย์และไม่เป็นอมตะ

                  3.ระบบภูมิสาม เชื่อว่าจักรวาลประกอบด้วยภูมิ 3 ระดับ ได้แก่
                      3.1 อรูปภูมิ คือภพภูมิที่ไม่ต้องการกาม ไม่มีรูป เป็นผู้ที่เข้ารวมกับความจริงอันสูงสุดตามหลักศาสนา ไม่มีจุดสิ้นสุดและเป็นอมตะ พระพุทธเจ้าประจำภูมินี้คือ พระอาทิพุทธ
                           การจำลองอรูปภูมิตรงกับฐานกลม เพราะในทางประติมานวิทยาอธิบายเกี่ยวกับวงกลมว่า ไม่มีมุม เท่ากับ การไม่มีรูป

                     3.2 รูปภูมิ คือ ภูมิที่ไม่ต้องการกามแล้วแต่ยังคงมีรูป และเป็นอมตะ พระพุทธเจ้าประจำภูมินี้คือ พระธยานิพุทธ
                          การจำลองรูปภูมิตรงกับรูปฐานสี่เหลี่ยมเพิ่มมุม และทางเดินประทักษิณ ในทางประติมานวิทยาอธิบายว่า การมีมุม เทียบเท่ากับ การมีรูป

                     3.3 กามภูมิ คือภพภูมิที่ยังมีกาม มีกิเลสและความต้องการ ร่างกายจึงยังตกอยู่ภายใต้การเกิด แก่ เจ็บ ตาย พระพุทธเจ้าประจำภูมินี้คือ พระมานุษิพุทธ
                          การจำลองกามภูมิตรงกับฐานด้านล่างสุดในผังสี่เหลี่ยม ซึ่งเปรียบได้ว่าเป็นส่วนล่างสุดของจักรวาล


การจำลองระบบภูมิสาม
ฐานสี่เหลี่ยมสีแดงด้านล่างสุด หมายถึง กามภูมิ
ฐานสี่เหลี่ยมสีส้มมีภาพสลักตลอดทางประทักษิณ หมายถึง รูปภูมิ
ฐานกลมสีเหลือง หมายถึง อรูปภูมิ
ที่มา https://i.pinimg.com/originals/c5/3c/5c/c53c5c8a1fe96e647adcb4eded56ff23.png
ภาพจำลองระบบภูมิสาม
ที่มา https://i.pinimg.com/originals/07/75/f4/0775f45a97046b8ca70750eb232d2675.png

 
                      นอกจากนี้สิ่งที่น่าสนใจก็ยังมีภาพสลักเล่าเรื่องตลอดทางประทักษิณที่ไม่ได้มีแค่สลักพุทธประวัติ ยังมีภาพสลักอื่นๆที่น่าสนใจ เช่น ภาพเล่าเรื่องทางพระพุทธศาสนา ภาพเล่าเรื่องการแสวงหาหนทางตรัสรู้ของพระสุธน ภาพเล่าเรื่องกฏแห่งกรรม เป็นต้น โดยภาพสลักกฏแห่งกรรมเป็นหนึ่งในภาพสลักที่โด่งดังของบุโรพุทโธ เนื่องจากเป็นภาพสลักเกี่ยวกับกามภูมิ ซึ่งเป็นภูมิที่เต็มไปด้วยมนุษย์ที่ยังคงมีกิเลสและตกอยู่ในกฏแห่งกรรมจึงถูกจำลองด้วยภาพสลักที่ด้านล่างสุดของฐานด้านล่าง

ฐานชั้นล่างสุดแสดงภาพสลักกฏแห่งกรรม
ที่มา https://chavelli.com/blog/travel-diaries-borobudur-indonesia
ภาพสลักกฏแห่งกรรม
ที่มา https://ladyshinta17.files.wordpress.com/2011/01/borobudur_exposed_footzone-1.jpg



จะเห็นได้ว่าพุทธสถานแห่งนี้สร้างขึ้นจากความเลื่อมใสในศาสนาอย่างแรงกล้า ทั้งการออกแบบสถาปัตยกรรม ประติมากรรม จิตรกรรมภาพสลักต่างๆล้วนเกี่ยวกับความเชื่อในพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น อีกทั้งยังได้รับอิทธิพลศิลปะมาจากอินเดียอย่างชัดเจน และนำมาสร้างสรรค์ ปรับเปลี่ยน และผสมผสานให้เข้ากับความเป็นชวา

เป็นยังไงบ้างคะ เนื้อหาของบุโรพุทโธจริงๆเยอะกว่านี้เนื่องจากว่าเป็นศาสนสถานที่มีความซับซ้อนและต้องทำความเข้าใจกันพอสมควรเลยค่ะ ผู้เขียนจึงสรุปมาคร่าวๆแต่ก็ยังแอบคิดว่ามันก็ค่อนข้างเยอะอยู่ แต่เพื่อที่จะได้เข้าใจรายละเอียดเกี่ยวกับสถานที่นี้มากขึ้นเราจึงควรจะรู้ไว้ก็ไม่เสียหาย เมื่อได้ลองศึกษาถึงความเป็นมาและรายละเอียดต่างๆก็แอบทึ่งไม่น้อยกับผู้ที่วางแผนและสร้างสถาปัตยกรรมเหล่านี้ขึ้นมาเลยค่ะ ส่วนสถานที่ต่อไปเรายังอยู่อินโดนีเซียค่ะ อย่าเพิ่งเบื่อกันนะคะ อีกสักเดี๋ยวก็จะได้พาไปชมสถานที่ประเทศอื่นในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่จะเป็นประเทศอะไรนั้น ต้องรอติดตามกันนะคะ








เอกสารอ้างอิง

เชษฐ์ ติงสัญชลี.(2558). ประวัติศาสตร์ศิลปะอินเดีย และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้. นนทบุรี: มิวเซียมเพรส.

เชษฐ์ ติงสัญชลี.(ม.ป.ป).ลานประทักษิณของบุโรพุทโธ ชั้นที่ 1 ปรากฏภาพสลักเล่าเรื่องพุทธประวัติ .สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561 จาก http://art-in-sea.com/th/data/indonesia-art/central-java-art/item/58-%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B4%E0%B8%93%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%98-%E0%B8%8A%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%881-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%8F%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%AA%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4.html

เชษฐ์ ติงสัญชลี.(ม.ป.ป).ภาพรวมของบุโรพุทโธทางด้านทิศตะวันออก .สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561 จาก http://art-in-sea.com/th/data/indonesia-art/central-java-art/item/56-%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%A1%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%98%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%94%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%81.html

Amazing Thaialnd. บุโรพุทโธ ความมหัศจรรย์แห่งอินโดนีเซีย. สืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561 จาก http://gothailandgoasean.tourismthailand.org/th/%E0%B8%9A%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B9%82%E0%B8%98-%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B1%E0%B8%A8%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2/

Winenews. “บุโรพุทโธ” พุทธสถานศูนย์กลางพุทธศาสนาอันยิ่งใหญ่ที่เจริญรุ่งเรืองในยุคของอาณาจักรศรีวิชัยสืบค้นเมื่อ 24 กันยายน 2561 จาก https://www.winnews.tv/news/12498

Comments

Popular posts from this blog

มกร สัตว์ในตำนานที่หลายคนยังไม่เคยรู้!

Knock Around Indonesia : เสน่ห์(ไม่)ลับของบาหลี