Posts

Showing posts from September, 2018

Knock Around Indonesia : บุโรพุทโธ ศาสนสถานมหายานที่ใหญ่ที่สุดในโลก

Image
Photo by Sebastian Staines สวัสดีค่ะ นี่ก็ผ่านไปอีก 1 อาทิตย์แล้ว จากที่ตอนที่แล้วพาไปชมจันทิที่อยู่ใกล้เคียงบุโรพุทโธ เมื่อมาคราวนี้เราจะพลาดพุทธศาสนสถานที่ยิ่งใหญ่อย่างบุโรพุทโธไปได้ยังไงล่ะคะ แน่นอนว่าบุโรพุทโธเป็นหนึ่งในสถานที่ที่หลายคนได้ลิสต์เอาไว้ว่าจะไปใช่ไหมคะ บุโรพุทโธก็เป็นหนึ่งในลิสต์ที่ผู้เขียนเองก็ตั้งใจว่าอยากจะไปค่ะ วันนี้จึงจะมาเล่าถึงความเป็นมาและสิ่งที่นาสนใจที่อยู่ในศาสนสถานแห่งนี้ค่ะ บุโรพุทโธ(Borobudur) เป็นสถูปทางศาสนาพุทธขนาดใหญ่ของศิลปะชวาค่ะ สร้างเมื่อราวพุทธศตวรรษที่ 14 โดยราชวงศ์ไศเลนทร์ ที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายมหายาน สถูปขนาดใหญ่นี้เชื่อว่าสร้างในระยะเดียวกับจันทิเมนดุตและจันทิปะวนที่ตั้งอยู่ใกล้เคียงกันดังที่นำมาเสนอในบล็อคครั้งที่แล้วค่ะ นักวิชาการเชื่อว่าสถูปบุโรพุทโธแห่งนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสถูปเกสาริยาที่อยู่ในอินเดียเป็นศิลปะอินเดียแบบปาละ บุโรพุทโธสร้างขึ้นจากหินลาวา แน่นอนว่าหินลาวามักจะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้นเมื่อโดนความร้อน อีกทั้งบุโรพุทโธเป็นสถานที่ที่ตั้งกลางแจ้งโล่งๆ ดังนั้นหากไปเที่ยวชมแล้วคงต้องมีเหงื่อแตกแน่ๆค่ะ บุโรพุทโธ

Knock Around Indonesia : โบราณสถานทั้งสองที่ตั้งบนเส้นตรงแกนเดียวกันกับบุโรพุทโธ!!

Image
Photo by David Marcu from https://unsplash.com/photos/78A265wPiO4  Edit by Thanapohn Pakdeethana มาพบกันอีกแล้วค่าา สำหรับสถานที่ท่องเที่ยวในครั้งนี้ เราก็ยังอยู่ที่อินโดนีเซียค่ะ และโบราณสถานที่จะมาแนะนำก็เป็นจันทิเหมือนเดิมเหมือนบล็อคที่แล้วค่า แต่แตกต่างที่สร้างคนละยุคสมัยกันนะคะ จันทิที่ราบสูงเดียงในบล็อคก่อนหน้านี้นั้นสร้างในสมัยชวาภาคกลางตอนต้น ในขณะที่จันทิปะวนและจันทิเมนดุตสร้างในระยะเดียวกับบุโรพุทโธ ซึ่งเป็นสมัยชวาภาคกลางตอนกลาง  และยังตั้งอยู่ใกล้บุโรพุทโธอีกด้วย นอกจากจะอยู่บริเวณใกล้เคียงกันแล้ว ทั้งสามสถานที่นี้เมื่อดูจากแผนที่แล้วยังพบว่าระยะห่างทั้งสามสถานที่สามารถแสดงเป็นเส้นตรงแกนเดียวกันซึ่งน่าสนใจอย่างมากค่ะ แผนที่แสดงระยะห่างของจันทิเมนดุต จันทิปะวน และบุโรพุทโธ ที่มา https://wisatane.com/candi-pawon-magelang/1899/ จันทิปะวนและจันทิเมนดุตสร้างในสมัย ราชวงศ์ไศเลน ผู้นับถือพุทธศาสนามหายานที่เข้ามามีอำนาจแทนราชวงศ์สัญชัยในพุทธศตวรรษที่ 14 ลักษณะของจันทิสมัยนี้คือยังคงมีการประดับเรือนธาตุจำลองให้ตั้งซ้อนกันบนหลังคาแบบวิมานในศิลปะอินเดียใต้ดังเดิม แต่เปล